ฉบับที่ 004 มกราคม 2556

Welcome to the Kullapat News

สวัสดีค่ะ

จดหมายข่าวจากกุลพัฒน์การแพทย์ประจำเดือนพฤศจิกายนนี้ มาพร้อมกับข่าวสารที่น่าสนใจและการศึกษาใหม่ๆเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ภาวะมีบุตรยาก และเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้สนใจทั้งผู้ที่ต้องการมีบุตร หรือมีบุตรโดยการรักษาภาวะมีบุตรยาก หรือท่านสมาชิกที่มีความสนใจเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์

หากต้องการรับจดหมายข่าวที่เป็นประโยชน์นี้(ไม่เสียค่าใช้จ่าย) ท่านสามารถแจ้งชื่อและอีเมลล์ที่“Quick Contact”ในเวบไซต์ของเรา หรือที่หน้า“Contact Us”บนเวบไซต์ 

Editor of the Kullapat Polyclinic & IVF Center

Fertility News

ความเครียดส่งผลต่อเพศบุตรหรือไม่

ปกติจะมีทารกแรกเกิดเพศชายมากกว่าเพศหญิง ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนของทารกเพศชายประมาณ  102-109คน ต่อทารกแรกเกิดเพศหญิง100คน ซึ่งใกล้เคียงกันมาก ซึ่งอธิบายได้ว่าเพศของทารกเกิดจากการสุ่มตามธรรมชาติ จึงมีอัตราส่วนใกล้เคียงกัน แต่ก็มีข้อมูลพบว่าทารกที่เกิดหลังจากเหตุการณ์รุนแรงเช่น สงคราม จะมีอัตราส่วนของทารกเพศชายต่อเพศหญิงที่ต่างไปจากนี้ได้ จึงมีคนคิดว่าความเครียดอาจจะส่งผลต่อเพศของทารกได้ แล้วคุณคิดว่าจริงไหม? อ่านเพิ่มเติม

การควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ทำให้ไม่อ้วนขณะตั้งครรภ์จริงหรือ?

เคยสังเกตหรือไม่ว่าคนตั้งครรภ์มักจะดูอ้วนขึ้นมาก อาจเป็นเพราะความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับการทานอาหารในคนตั้งครรภ์คือ ต้องทานมากๆเผื่อลูก หรือต้องกินเท่าสองคน!ทว่าในความเป็นจริง คนตั้งครรภ์ต้องการพลังงานต่อวันมากขึ้นเพียงนิดเดียวเท่านั้น (เพิ่มขึ้นประมาณ300กิโลแคลลอรี่ต่อวันเท่านั้นเอง)การมีน้ำหนักขึ้นมากเกินไปส่งผลไม่ดีและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์และหลังคลอดก็ลดน้ำหนักยากอีกด้วย  แล้วถ้าต้องการควบคุมอาหารและออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์จะปลอดภัยและมีประโยชน์จริงหรือไม่? อ่านเพิ่มเติม

ยาสมุนไพรปลอดภัยในคนท้องหรือไม่

คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่า ยาสมุนไพรซึ่งเป็นสารจากธรรมชาติ จะต้องปลอดภัยอย่างแน่นอน หญิงตั้งครรภ์จำนวนมากจึงใช้ยาสมุนไพรต่างๆเพื่อบำรุงร่างกาย เพราะความเข้าใจว่ายาเหล่านี้ปลอดภัย และการแพทย์สมัยใหม่เองก็ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับยาเหล่านี้มากนัก แล้วการใช้ยาสมุนไพรดีต่อสุขภาพและปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์จริงๆหรือเปล่า? อ่านเพิ่มเติม

ตรวจโครโมโซมก่อนย้ายตัวอ่อน จะทำให้ท้องมากขึ้นจริงหรือไม่

ความผิดปกติของโครโมโซมมันสำคัญอย่างไร?ก็ต้องบอกว่าโครโมโซมคือตัวควบคุมการทำงานต่างๆของร่างกายดังนั้นหากโครมโซมผิดปกติจึงทำให้เด็กพิการ หรือเกิดโรคต่างๆได้ เช่น เลือดจางธาลัซซีเมีย ที่พบได้บ่อยมากในประเทศไทยการตรวจโครโมโซมเพื่อวินิจฉัยก่อนการย้ายตัวอ่อน หรือที่มีชื่อเต็มๆเป็นภาษาอังกฤษว่าPre-implantation genetic diagnosis (PGD)คือการนำเซลล์จากตัวอ่อน(ตัวอ่อนจากการทำเด็กหลอดแก้วที่ยังอยู่ในจานทดลอง เตรียมจะย้ายคืนเข้าสู่โพรงมดลูกของคุณแม่)มาตรวจดูว่ามีความผิดปกติของโครโมโซมที่จะทำให้เกิดโรคบางอย่างที่เฉพาะเจาะจง เช่นคุณพ่อคุณแม่เป็นโรคธาลัสซีเมีย แล้วอยากจะตรวจตัวอ่อนก่อน เพื่อเลือกย้ายเฉพาะตัวอ่อนที่ไม่เป็นโรคนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการทำการตรวจคัดกรองโครโมโซมก่อนย้ายตัวอ่อนด้วย(Pre-implantation genetic screening; PGS)การตรวจชนิดนี้จะตรวจดูโครโมโซมทั่วๆไปว่ามีจำนวนครบหรือไม่ใช้ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้เป็นโรคอะไร ในสังคมปัจจุบันนี้ยอมรับการตรวจชนิดแรกว่าสมควรทำและมีประโยชน์จริง(เพราะทำให้คนที่เป็นพาหะของโรค ได้มีบุตรที่แข็งแรงไม่เป็นโรค)แต่การตรวจแบบที่สองยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะมีประโยชน์จริงหรือไม่ อ่านเพิ่มเติม

การฉีดสีและเอกซเรย์ดูโพรงมดลูกและท่อนำไข่ ในคนที่มีบุตรยาก มีความจำเป็นต้องตรวจแค่ไหน?

การฉีดสีและเอกซเรย์ดูโพรงมดลูกและท่อนำไข่(Hysterosalpingography)คือการฉัดสารทึบรังสีเข้าไปในโพรงมดลูกและท่อนำไข่ การตรวจนี้สามารถบอกได้ชัดเจนว่ามีการตันของท่อนำไข่หรือไม่ แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งในแง่ของความแม่นยำของการดูความผิดปกติในโพรงมดลูก แล้วมีวิธีการอื่นๆที่ควรใช้หรือไม่? อ่านเพิ่มเติม