Find us on facebook youtube

ทำไมทารกที่เกิดจากการทำเด็กหลอดแก้วถึงตัวเล็ก?

การวิจัยจากสหรัฐอเมริกาเพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ โดยวัดการเจริญเติบโตจาก อัลตราซาวน์ที่ไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ และน้ำหนักแรกเกิดของทารก ในกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องมีบุตรยากจะแบ่งเป็น 3กลุ่มคือตั้งครรภ์จาก1)กระตุ้นการตกไข่ 2)เด็กหลอดแก้ว  หรือ3)ไม่ได้การรักษาใดเลย หญิงตั้งครรภ์ในการวิจัยนี้ทั้งหมดเป็นการตั้งครรภ์ที่มีทารกเพียงคนเดียวทั้งหมด(ไม่รวมครรภ์แฝดเข้ามาในการศึกษา)เทียบกับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะมีบุตรยาก โดยใช้วิธีทางสถิติเข้ามาช่วยในการจับคู่เพื่อเปรียบเทียบ(matching)ดังนั้นทั้งในกลุ่มที่มีบุตรยากและกลุ่มที่ไม่มีบุตรยากจะมีลักษณะพื้นฐาน(เช่น อายุ รูปร่าง ใกล้เคียงกัน ยกเว้นแต่เรื่องการมีบุตรยากเท่านั้นผลการศึกษาพบว่าเมื่อเอาผู้ป่วยที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาเปรียบเทียบกัน คนที่มีภาวะมีบุตรยากจะมีทารกตัวเล็กกว่าคนที่มีบุตรได้เอง โดยตัวจะเล็กกว่าทั้งตอนตั้งครรภ์และตอนคลอด อย่างไรก็ตามในกลุ่มของผู้ที่มีบุตรยากพบว่า การรักษาหรือไม่รักษาภาวะมีบุตรยาก(แต่ตั้งครรภ์เอง)จะมีขนาดตัวของทารกไม่ต่างกัน ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าการที่ผู้ป่วยมีบุตรยากมีทารกตัวเล็กกว่าคนทั่วไป เป็นจากตัวผู้ป่วยที่อาจจะมีโรคหรือภาวะบางอย่างซ่อนอยู่จึงทำให้มีบุตรยากและเมื่อมีบุตรได้ก็จะตัวเล็กกว่าปกติ ไม่ได้เกี่ยวกับวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก

Last update: 04 December 2012 | View 749

« Back